งานครู"งานพัฒนาคุณภาพชีวิต" ไม่มีการผลัดว่า"พรุ่งนี้" แต่ต้องเป็น "วันนี้"...

งานครูเป็นงานที่ทำเพื่อพัฒนาเยาชนของชาติให้ได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา บางคนเปรียบเสมือนครูเป็นเรือจ้างทึ่คอยรับส่งคนข้ามฟาก
แต่การส่งคนข้ามฟากนั้นมันเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ยิ่งนัก สำหรับครูวีร์ งานครูที่ทำนั้นคืองานปั้นดินให้เป็นดาวเสร็จแล้วก็ส่งดาวขึ้นสู่ฟากฟ้า
... คราใดเมื่อดาวเปล่งแสงประกายเจิดจ้าอยู่บนฟากฟ้า ขอเพียงว่า...
ได้แหงนหน้าชื่นชมดวงดาวนั้น...ก็พอใจแล้ว.....

ความรู้ด้านภาษาไทย




        การเลือก ใช้คำให้ถูกต้องตามชนิดและหน้าที่จะช่วยให้สื่อสารทำความเข้าใจได้ตรงตามความต้องการและรวดเร็ว  คำในภาษาไทยแบ่งออกเป็น  ๗  ชนิด  คือ
        ๑.คำนาม  
        ๒.คำสรรพนาม 
        ๓.คำกริยา   
        ๔.คำวิเศษณ์ 
        ๕.คำบุพบท 
        ๖.คำสันธาน 
        ๗.คำอุทาน
  คำนาม
        คำที่ใช้เรียกชื่อคน  สัตว์  สิ่งของ  สภาพธรรมชาติ   สถานที่ต่างๆทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต  ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม  เรียกว่า  คำนาม
        อ่านและพิจารณาประโยดต่อไปนี้
๑) มนุษย์และลิงกินกล้วยเป็นอาหาร
๒) หลายประเทศในโลกมีเศรษฐกิจดีขึ้น
๓) มะม่วงเขียวเสวยมีรสชาติอร่อย
๔) นกกางเขนกำลันบินกลับรัง
๕) ไม้สักให้ความหมายในด้านการมียศศักดิ์
        คำที่พิมพ์ตัวหนาในประโยคตัวอย่างข้างต้น  เป็นคำนามทั่วไป  เรียกว่า คำนามสามัญ   ยังมีคำนามสามัญบางคำที่พิมพ์ตัวเอน   คือ   เขียวเสวย  กางเขน  สัก   เป็นชนิดย่อยของคำนามสามัญ  เรียกว่า  คำนามสามัญย่อย  ของคำนาม  มะม่วง  นก   และไม้  ตามลำดับ
        อ่านและพิจารณาประโยคต่อไปนี้
๑) นักท่องเที่ยวชอบไปชมวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
๒) ประเทศไทย  มีสินค้าออกที่สำคัญ  คือ  ข้าว
๓) วันอาทิตย์หน้าเราจะไปเที่ยวทะเลกัน
๔) ติ๊ดตี่กำลังเล่นกับเจ้ามอมสุนัขตัวโปรด
       คำที่พิมพ์ตัวหนาในประโยคตัวอย่างข้างต้น  เป็นคำที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นชื่อเฉพาะของคน   สัตว์  สิ่งของ  และสถานที่  เรียกว่า  คำนามวิสามัญ  คำนามวิสามัญส่วนใหญ่เมื่อจะใช้มักมีคำนามสามัญ(คำที่พิมพ์ตัวเอน)อยู่ข้างหน้าด้วย
       อ่านและพิจารณาประโยคต่อไปนี้
๑)เสือตาย   ๓๕  ตัว  เพราะติดเชื้อไข้หวัดนก
๒)นาฬิกาข้อมือเรือนนั้นสวยจริงๆ
        คำที่พิมพ์ตัวหนา   เป็นคำบอกลักษณะ   รูป   หรือขนาดของคำนามสามัญ(คำที่พิมพ์ตัวเอน) เรียกว่า  คำลักษณะนาม   ตัวอย่างคำลักษณะนามอื่นๆเช่น  คน  เล่ม   อัน  ชิ้น  สาย  แท่ง  กระบอก   ซี่ฯลฯ
        อ่านและพิจารณาประโยคต่อไปนี้
๑) ฝูงชนวิ่งเข้าไปเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ลานพิธีแรกนาขวัญ
๒) คณะกรรมการกำลังประชุมพิจารณาผลการสอบของนักเรียน
        คำที่พิมพ์ตัวหนาในประโยคตัวอย่างข้างต้น   เป็นคำบอกหมวดหมู่ของคำนามสามัญ  เรียกว่า  สมุหนาม   สมุหนามอื่นๆ  เช่น  กลุ่ม  โขลง   หมู่  กอง  ชุด   พวก  เหล่า   ทะลาย  ฯลฯ
        อ่านและพิจารณาประโยคต่อไปนี้
๑) การสลักกาบกล้วยเป็นงานฝีมือของคนไทย
๒) ความซื่อสัตย์เป็นคุณสมบัติของคนดี
        คำที่พิมพ์ตัวหนาในประโยคตัวอย่างข้างต้น  เป็นคำนามที่แสดงอาการมักมีคำว่า   การ  หรือ  ความ  นำหน้า  เช่น  การพูด  การเขียน  ความรัก  ความเมตตา ฯลฯ เรียกว่า  อาการนาม
๒. คำสรรพนาม
        ในการพูดหรือการเขียน  เมื่อใช้คำนามคำหนึ่ง  และจะกล่าวถึงคำนั้นๆในโอกาสต่อไป  มักมีคำเรียกแทนคำนามนั้น  คำชนิดนี้เรียกว่า  คำสรรพนาม
        อ่านและพิจารณาประโยคต่อไปนี้
๑) วันนี้คุณยายไม่สอนฉันเย็นกระทง  เพราะท่านไม่สบาย
๒) คุณมีความเห็นเหมือนเขาหรือไม่
        คำว่า   ฉัน  ท่าน   คุณ  เขา  เป็นคำสรรพนามใช้แทนผู้พูด  ผู้ฟัง  และผู้ที่ถูกกล่าวถึง  เรียกว่า  คำสรรพนามแทนบุคคล  มีคำอื่นๆอีก   เช่น
        ดิฉัน   ผม   อาตมา  ข้าพเจ้า  ฯลฯ   แทนผู้พูด
        พระองค์  เธอ  ท่าน   แก   ฯลฯ       แทนผู้ฟัง
        เขา   เธอ   มัน   ท่าน   ใคร   ฯลฯ    แทนผู้ที่ถูกกล่าวถึง
๓) นั่น   อ่านว่าอย่างไร
        คำว่า   นั่น  เป็นคำสรรพนามที่บอกความหมายเฉพาะเจาะจง   เรียกว่า  คำสรรพนามชี้เฉพาะ   มีคำอื่นๆอีกคือ  นี่  โน่น  นู่น
๔) เขาไม่เคยทำความเดือดร้อนให้ใครเลย
        คำว่า   ใคร  เป็นคำสรรพนามที่มีความหมายทั่วๆไป  ไม่เฉพาะเจาะจง   เรียกว่า คำสรรพนามไม่ชี้เฉพาะ  มีคำอื่นๆ  อีกคือ  อะไร  ไหน   ผู้หนึ่งผู้ใด
๕) ใครเป็นคนเย็บกระทงห่อหมก
        คำว่า  ใคร  เป็นคำสรรพนามที่ใช้เป็นคำถาม  เรียกว่า คำสรรพนามถาม  มีคำอื่นๆอีกคือ  อะไร  ไหน
๖)คนไทยสมัยก่อนต่างก็รู้จักใช้ประโยชน์จากต้นกล้วย
        คำว่า  ต่าง  เป็นคำสรรพนามใช้เพื่อแยกคำนามออกเป็นส่วนๆเรียกว่า  คำสรรพนามแยกฝ่าย   มีคำอื่นๆอีกคือ   บ้าง   กัน
 .คำกริยา
        คำกริยา  เป็นคำที่บอกอาการ  หรือ  บอกสภาพของคน  สัตว์   พืช  สิ่งของ  เครื่องใช้
ยิ้ม   วิ่ง   ล้ม   กิน   ตี      เป็นคำกริยาบอกอาการ
อ้วน   ผอม   ฉลาด   โง่  เก่า   ใหม่เป็นคำกริยาบอกสภาพ


        อ่านและพิจารณาประโยคต่อไปนี้
๑) ภูเขาถล่มเมื่อวานนี้
๒) นักกีฬาวิ่งรอบสนาม
        คำว่า   ถล่ม   วิ่ง  ไม่ต้องมีกรรมตามหลังก็ได้ใจความ  คำกริยาประเภทนี้  เรียกว่า  คำกริยาอกรรม
๓) คุณยายเย็บกระทง
๔) ช่างสลักกาบกล้วยให้เป็นลวดลาย
        คำว่า  เย็บ  สลัก   ต้องมีกรรม(คำที่พิมพ์ตัวเอน)ตามหลัง   จึงจะได้ใจความสมบูรณ์  คำกริยาประเภทนี้เรียกว่า  คำกริยาสกรรม
๕) เขาเหมือนฉัน
๖) ข้าวเป็นอาหารของคนไทย
๗) เชื่อกันว่าไม้มงคลคือพืชที่นำความเจริญมาให้ผู้ปลูก
        คำว่า  เหมือน  เป็น  คือ   เป็นคำกริยาที่ต้องมีคำนาม   หรือ   คำสรรพนามซึ่งทำหน้าที่เป็นส่วนเติมตามหลังเสมอ   คำกริยาประเภทนี้เรียกว่า  คำกริยาเติมเต็ม


 .คำวิเศษณ์
        คำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม  คำสรรพนาม คำกริยา  หรือคำวิเศษณ์ด้วยกันเพื่อให้เนื่อความชัดเจนขึ้นเรียกว่า  คำวิเศษณ์   คำวิเศษณ์มักจะอยู่หลังคำที่นำมาขยาย
       อ่านและพิจารณา
ประโยค 
คำวิเศษณ์ 
ชนิดของคำวิเศษณ์
๑.พราหมณ์เฒ่าเป็นคนเจ้าปัญญา เฒ่า, เจ้าปัญญา ขยายคำนาม (พราหมณ์,คน)
๒.นักเรียนกำลังสนใจคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ เครื่องใหม่ ขยายคำนาม (คอมพิวเตอร์)
๓.ฉันเองเป็นคนทำ เอง ขยายคำสรรพนาม (ฉัน)
๔.เราไม่อยากนึกถึงใครคนนั้นอีกแล้ว คนนั้น ขยายคำสรรพนาม (ใคร)
๕.เด็กๆพูดจาไพเราะ ไพเราะ ขยายคำกริยา (พูดจา)
๖.ข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีประโยชน์มากมาย มากมาย ขยายคำกริยา (มี)
๗.น้ำในคลองเหลือน้อยจริงๆ จริงๆ ขยายคำวิเศษณ์ (น้อย)
๘.ข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีประโยชน์มากมายมหาศาล  มหาศาลขยายคำวิเศษณ์ (มากมาย)


 .คำบุพบท
        คำที่อยู่ข้างหน้าคำนาม   หรือคำสรรพนาม   แล้วทำหน้าที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำนาม  หรือคำสรรพนาม  ในประโยค  เรียกว่า  คำบุพบท
        คำบุพบท   แบ่งออกได้เป็น ๔  ชนิด   คือ
๑.บุพบทบอกสถานที่  เช่น  ที่  นอก  ใน  ใต้  บน  ใกล้  ไกล  ฯลฯ
๒.บุพบทบอกความเป็นเจ้าของ เช่น  ของ  แห่ง  ฯลฯ
๓.บุพบทบอกความประสงค์หรือความเกี่ยวข้อง เช่น  กับ แก่  แต่  ต่อ เฉพาะ  สำหรับ เพื่อ โดย ตาม ฯลฯ
๔.บุพบทบอกเวลา เช่น เมื่อ ตั้งแต่ แต่  จนกระทั่ง ฯลฯ
        อ่านและพิจารณา
ประโยค 
คำบุพบท 
ชนิดของคำบุพบท
เด็กๆในละแวกบ้านมารวมกันที่หาดทราย ใน, ที่ บอกสถานที่
บ้านของดำอยู่ไกลโรงเรียน ไกล บอกสถานที่
ภูเก็ตเป็นเมืองแห่งความฝัน แห่ง บอกความเป็นเจ้าของ
คุณพ่อของฉันใจดีของบอกความเป็นเจ้าของ   
ฉันจะให้เงินเฉพาะคนขอทาน เฉพาะ บอกความประสงค์/เกี่ยวข้อง
แพทย์ทำงานหนักเพื่อคนไข้ เพื่อ บอกความประสงค์/เกี่ยวข้อง
เพื่อนๆมาถึงโรงเรียนตั้งแต่เช้าแล้ว ตั้งแต่ บอกเวลา
ชาวสวนรดน้ำผักจนกระทั่งเที่ยง จนกระทั่งบอกเวลา


 .คำสันธาน
        ในการใช้ภาษาโดยทั่วไป   เมื่อต้องการให้ประโยคต่อเนื่องกันไป   โดยมีใจความเกี่ยวข้องกันในลักษณะต่างๆ เช่น ใจความคล้อยตามกัน  ชัดแย้งกันเป็นเหตุเป็นผลกัน   หรือให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง  เราต้องใช้คำมาเชื่อมประโยคเหล่านี้   คำที่ใช้เชื่อมประโยดเรียกว่า  คำสันธาน  คำสันธานอาจใช้คำเดียว   หรือหลายคำก็ได้
        อ่านและพิจารณา
ประโยค 
คำสันธาน
ใจความ
๑.เราทำงานเสร็จก็รีบกลับบ้าน 
ก็ 
คล้อยตามกัน
๒.พอครูเข้ามานักเรียนก็เลิกคุย 
พอ….ก็ 
คล้อยตามกัน
๓.บางจังหวัดทั้งฝนตกและน้ำท่วม 
ทั้ง….และ 
คล้อยตามกัน
๔.แดงชอบกินข้าวแต่ไม่ชอบกินขนม 
แต่ 
ขัดแย้งกัน
๕.เขาวิ่งเร็วมากแต่ว่าไม่เหนื่อยเลย 
แต่ว่า 
ขัดแย้งกัน
๖.ผู้หญิงคนนั้นพูดเพราะแต่ทว่าใจร้ายจริงๆ 
แต่ทว่า 
ขัดแย้งกัน
๗.เพราะไม่มีเงินลงทุนเขาจึงไม่ค้าขาย 
เพราะ…จึง 
เป็นเหตุเป็นผลกัน
๘.เราอยากเรียนในระดับสูงๆเพราะฉะนั้นจึงต้องขยันเรียน 
เพราะฉะนั้น…จึง 
เป็นเหตุเป็นผลกัน
๙.ไฟฟ้าดับทั้งอำเภอเราเลยไม่ได้ดูละคร 
เลย 
เป็นเหตุเป็นผลกัน
๑๐.ประภาทำสมุดฝากเงินหาย   ดังนั้นจึงเบิกเงินไม่ได้ 
ดังนั้น…จึง
เป็นเหตุเป็นผลกัน
๑๑.เธอจะไปที่ทำการไปรษณีย์หรือจะไปตลาด 
หรือ 
เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
๑๒.วันหนึ่งๆเราเห็นเขาไม่กินก็เล่น 
ไม่…ก็ 
เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
๑๓.ดึกแล้วทำการบ้านให้เสร็จไม่ก็นอนเสีย 
ไม่ก็ 
เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง




 .คำอุทาน
        คำที่เปล่งเสียงออกมาเพื่อแสดงอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ ของผู้พูด   เช่น  ตกใจ  ดีใจ  เสียใจ  แปลกใจ  โล่งใจ  สงสาร  ขื่นขม  ฯลฯ  เรียกว่า คำอุทาน
        คำอุทานมักอยู่หน้าประโยคและมีเครื่องหมายอัศเจรีย์(!)  อยู่หลังคำอุทานนั้น   เช่น
ว้าย!      ช่วยด้วย   มนุษย์ต่างดาวแสดงความตกใจ
เฮ้อ!     แต่งคำประพันธ์นี่ยากจริงๆแสดงความท้อใจ
สะดุ้งตื่น   เอ๊ะ!  ไม่ตาย  อ๋อ!   ฝันไปแสดงความแปลกใจ  โล่งใจ
เอ๊ะ!   นั่นใครแสดงความสงสัย
โอ้โฮ!  คำประพันธ์ของคุณย่าเยี่ยมจริงๆแสดงความชื่นชม
ไชโย!    ทำการบ้านเสร็จแล้วแสดงความดีใจ

                                   

   ตัวสะกด   หมายถึง พยัญชนะที่ประกอบอยู่ท้ายสระ และมีเสียงประสมเข้ากับสระใช้บังคับเสียงท้ายคำ   บางมาตราใช้ตัวสะกดตรงตามมาตรา บางมาตราใช้ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา มีทั้งหมด 9 มาตรา ได้แก่  แม่ ก กา  แม่กง  แม่กน  แม่กม  แม่กก  แม่กด  แม่กบ  แม่เกย และแม่เกอว
    
     มาตราตัวสะกดที่ใช้ตัวสะกดตัวเดียวตรงตามมาตรามี 4 มาตรา
     มาตราแม่ กง คือ คำที่มีตัว ง สะกด เช่น โรง แห้ง ตรง
แม่กง
“ง” เมื่ออยู่ท้ายคำ (พยางค์) เป็นตัวสะกดของคำ  โคนลิ้นจะกระดกแตะเพดานอ่อน กักลมไว้เฉยๆ ไม่ปล่อยออก  ออกเสียงเป็น “เงอะ”
     มาตราแม่ กม คือ คำที่มีตัว ม สะกด เช่น ลม สาม ชุ่ม
แม่กม
“ม” เมื่ออยู่ท้ายพยางค์เป็นตัวสะกดของคำ ริมฝีปากทั้งสองจะกักลมไว้ เพดานอ่อนหย่อนลงมาหรือลิ้นไก่เปิด ปล่อยให้ลมผ่านออกไปทางช่องจมูก ออกเสียง “เมอะ”
     มาตราแม่ เกย คือ คำที่มีตัว ย สะกด เช่น ยาย สวย เขย
     มาตราแม่ เกอว คือ คำที่มีตัว ว สะกด เช่น ขาว เปรี้ยว เหว
    
     มาตราตัวสะกดที่มีตัวสะกดในมาตราเดียวกันหลายตัวเพราะออกเสียงเหมือนตัวสะกดเดียวกัน เรียกว่า ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา มี 4 มาตรา คือ
     มาตราแม่ กก คือ คำที่มีตัว ก สะกด หรือคำที่มีหน้าที่เหมือน ได้แก่ ข ค ฆ สะกด เช่น เลข โรค เมฆ
แม่กก
“ก” เมื่ออยู่ท้ายพยางค์เป็นตัวสะกดของคำ ให้ใช้ลิ้นส่วนหลังกับเพดานอ่อนกักลมไว้ชั่วระยะเวลาอันสั้น แล้วปล่อยลมออกอย่างรวดเร็วในลักษณะระเบิด เพดานอ่อนยกขึ้นหรือลิ้นไก่ปิดกั้นลมออกทางช่องจมูกด้วย ออกเสียงเป็น “เกอะ”
     มาตราแม่ กด คือ คำที่มีตัว ต สะกด หรือคำที่มีหน้าที่เหมือน ได้แก่ ด จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฑ ฒ ต ท ธ ศ ษ ส สะกด เช่น พิษ ครุฑ ตรวจ มงกุฎ
แม่กด
“ด” เมื่ออยู่ท้ายพยางค์เป็นตัวสะกดของคำ ปลายลิ้นกับปุ่มเหงือกจะกักลมไว้ชั่วระยะเวลาอันสั้น แล้วปล่อยลมออกอย่างรวดเร็วในลักษณะระเบิด เพดานอ่อนยกขึ้นหรือลิ้นไก่ปิดกั้นลมออกทางช่องจมูกด้วย ออกเสียง “เดอะ”
     มาตราแม่ กบ คือ คำที่มีตัว ป สะกด หรือคำที่มีหน้าที่เหมือน ได้แก่ ป พ ฟ ภ สะกด เช่น บาป ภาพ ยีราฟ โลภ
แม่กบ
“บ” เมื่ออยู่ท้ายพยางค์เป็นตัวสะกดของคำ ให้ใช้ริมฝีปากทั้งสอง กักลมไว้ชั่วระยะเวลาอันสั้น แล้วปล่อยลมออกมาอย่างรวดเร็วในลักษณะระเบิด เพดานอ่อนยกขึ้นหรือลิ้นไก่ปิดกั้นลมออกทางช่องจมูกด้วย ออกเสียง “เบอะ”
     มาตราแม่ กน คือ คำที่มีตัว น สะกด หรือคำที่มีหน้าที่เหมือน ได้แก่ ญ ณ ร ล ฬ สะกด เช่น บุญ มโหฬาร พาล ทมิฬ อักษร กล้าหาญ
แม่กน
“น” เมื่ออยู่ท้ายพยางค์เป็นตัวสะกดของคำ ลิ้นจะกระดกแตะเพดาน ใช้ปลายลิ้นกับปุ่มเหงือกกักลมไว้ ลิ้นไก่เปิด ปล่อยลมผ่านออกไปทางช่องจมูก ออกเสียง “เนอะ”
    
     ส่วนมาตราตัวสะกดที่ไม่มีตัวสะกดท้ายคำ มีเฉพาะพยัญชนะต้นและสระ เรียกว่า มาตราแม่ ก กา  ได้แก่  ปลา  ตา  ใย  ไป  เรือใบ  ดำนา